กัญชาใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง
กัญชาใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง
กัญชา เป็นหนึ่งในพืชที่มีคุณสมบัติทางยาสูงแต่ก็มีโทษทำให้เสพติดได้เช่นกัน กัญชาจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติดตามกฏหมาย หลายประเทศได้พยายามส่งเสริมให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่ากัญชาสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิดอาการจึงได้มีการเคลื่อนไหวให้แก้กฏหมายยาเสพติดในหลายประเทศ ในสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนียได้มีการแก้ไขกฎหมายให้สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้สำเร็จเมื่อปีค.ศ.1996 หลังจากนั้นก็ได้มีการผลักดันให้แก้กฏหมายปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์เพิ่มอีกในหลายรัฐรวมถึงในประเทศอื่นๆ ทำให้การวิจัยประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์เป็นไปอย่างก้าวกระโดดเมื่อแพทย์และผู้ป่วยสามารถใช้กัญชาช่วยในการรักษาและสามารถเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น
ยาจากสารสกัดกัญชามีความแตกต่างจากยาแผนปัจจุบันอื่นๆ ในแง่ที่ยังไม่สามารถควบคุมปริมาณการใช้หรือสูตรตายตัวสำหรับโรคใดโดยเฉพาะได้ การใช้ยากัญชาไม่ว่าจะเป็นน้ำมันกัญชา สเปรย์กัญชาหรือยาในรูปแบบอื่นๆจำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังด้วยข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด การใช้ยากัญชาในแต่ละบุคคลจำเป็นต้องปรับปริมาณการใช้ให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล โดยมีหลักการสำคัญ คือ “เริ่มทีละน้อยแล้วค่อยๆเพิ่มขนาดจนควบคุมอาการเจ็บป่วยได้ (Titration)”
ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการใช้กัญชาที่เหมาะสม มี 3 ประเด็นหลักได้แก่
1. ชนิดของยากัญชาที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้กัญชาโดยตรงหรือสารสกัดจากกัญชาในรูปแบบต่างๆทั้งสารสกัดน้ำมันกัญชา ยากัญชาแบบพ่น แบบสูบ แบบหยอดใต้ลิ้น แบบกิน แบบสวนทวาร แบบทาภายนอก ล้วนให้ผลการรักษาที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงสายพันธุ์กัญชาที่แตกต่างกันก็ให้ผลการรักษาที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
2. โรคที่ผู้ป่วยเป็น ระยะของโรค ระดับความรุนแรง การรักษาแบบอื่นๆที่ใช้ร่วมด้วยล้วนมีผลต่อผลการรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
3. การตอบสนองต่อยากัญชาของแต่ละคน รวมถึงระดับ endocannabinoid เดิมในร่างกายและการดื้อต่อยากัญชาเมื่อใช้ไปนานๆทำให้ผลการรักษาแตกต่างกันไป
นพ. ภาสิน เหมะจุฑาและ ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้นำเสนการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์ ในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากกัญชาของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 25 มกราคม 2562.ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับขนาดยากัญชาที่เหมาะสมดังนี้
ขนาดยากัญชาที่เหมาะสมที่ใช้กัญชารักษาโรคหรืออาการได้ผลดี
INDICATION |
TYPE OF CANNABINOID |
RECOMMENDED DOSE |
EFFICACY |
Neuropathic pain (any causes including post-operative pain,cancer pain, non cancer pain,neuropathic pain,Multiple sclerosis) |
THC:CBD (1:1) |
THC:CBD (1:1) |
Improvement in pain |
Nausea & Vomiting in cancer |
THC:CBD (1:1) |
THC:CBD (1:1) |
>60% prefer cannabis vs antiemetics |
Spasticity in Multiple sclerosis |
THC:CBD (1:1) |
THC:CBD (1:1) |
Subjective improvement & Gait |
Intractable epilepsy (children and adult) |
THC:CBD (0:1) |
THC:CBD (0:1) |
36.5% seizure reduction |
Anorexia in HIV |
THC:CBD (1:0) |
THC:CBD (1:0) |
2-5 kg gain, 30% reduction neuropathy |
Tics and Tourette syndrome |
THC:CBD (1:0) |
THC:CBD (1:0) |
Significant improvement |
ข้อมูลจาก https://www.กัญชาทางการแพทย์.com