อาหารประเภทใดบ้างที่ต้องมี อย.
การแสดงเครื่องหมาย อย. หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า เลขสารบบอาหาร หมายถึง การแสดงเครื่องหมายหรือรูปแบบของอาหาร ที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร อนุญาตใช้ฉลากอาหาร จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของ อาหารแล้ว ประกอบด้วยเครื่องหมาย และเลขสารบบอาหาร เลขสารบบอาหาร ประกอบด้วยตัวเลขสิบสามหลักที่แบ่งเป็นห้ากลุ่ม ซึ่งแสดงถึงสถานที่ผลิตอาหาร หรือสถานที่นําเข้าอาหารแล้วแต่กรณี หน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต และลําดับที่ของอาหาร โดยแสดงในเครื่องหมายตามลักษณะข้างล่างนี้
อาหารที่ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร ได้แก่
1. อาหารควบคุมเฉพาะ ได้แก่ เครื่องดื่มในภาชนะปิดสนิท นมโค นมปรุงแต่ง นมเปรี้ยว ผิตภัณฑ์ของนม อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ไอศกรีม อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก และวัตถุเจือปนอาหาร
2. อาหารที่กําหนดคุณภาพ ได้แก่ น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ช็อคโกแลต ข้าวเติมวิตามิน เกลือบริโภค เครื่องดื่มเกลือแร่ ชา กาแฟ น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ ซอสบางชนิด ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมันและไขมัน น้ำมันเนย เนยเทียม ครีม เนยแข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป น้ำผึ้ง รอยัลเยลลี ผลิตภัณฑ์ แยม ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เนยใสหรือกี เนย ไข่เยี่ยวม้า และสุรา
3. อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก ได้แก่ แป้งข้าวกลอง วุ้นสําเร็จรูปและขนมเยลลี อาหารที่มีการใช้กรรมวิธีการฉายรังสี ซอสในภาชนะบรรจุทิ่ปิดสนิท วัตถุแต่งกลิ่นรส ขนมปัง น้ำเกลือปรุงอาหาร หมากฝรั่งและลูกอม อาหารพร้อมปรุงและอาหารสําเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที อาหารมีวัตุถประสงค์พิเศษ ผลิตภัณฑ์กระเทียม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม
ผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดให้ต้องมีฉลากแสดง อย. ได้แก่
1. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ไม่ต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ ได้แก่
- เครื่องปรุงรสและน้ำ จิ้ม
- น้ำพริกที่สำเร็จรูปที่รับประทานได้ทันที
- ผลิตภัณฑ์อบกรอบ ทอด กวน ตาก หมัก ดอง จากผลไม้
- ขนมและอาหารขบเคี้ยว
- ลูกอมและทอฟฟี่
2. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และมีรายงานผลการตรวจวิเคราะห์อาหารไว้ให้ตรวจสอบ ได้แก่
- น้ำส้มสายชู
- น้ำมันสำหรับปรุงอาหาร
- กาแฟ ชนิดคั่วเมล็ด / ผงสำเร็จรูป / ปรุงสำเร็จ
- ชา ชนิดชาใบ / ผงสำเร็จรูป / ปรุงสำเร็จ
- เครื่องปรุงโปรตีนของถั่ว
- อาหารกึ่งสำเร็จรูป
3. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ ได้แก่
- เครื่องดื่มชนิดน้ำและผง ที่ทำจากพืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำตาลสด เครื่องดื่มรังนก กาแฟ ถั่วเหลือง
- อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เช่น อาหารกระป๋อง อาหารบรรจุขวดแก้วที่ฝามียางรองด้านใน ซอง ถุงอลูมิเนียมฟอยล์ที่ปิดผนึก
- นมและผลิตภัณฑ์นม เช่น นมโค นมปรุงแต่ง นมเปรี้ยว ไอศกรีม เนยแข็ง เนย
- น้ำดื่ม / น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุ่มนี้ ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาตผลิตภัณฑ์ แต่ต้องแสดงฉลากตามที่กฎหมายกำหนด
1. ผลิตภัณฑ์จากพืช ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ เมล็ดถั่วแห้ง งา พริกแห้ง ข้าวเกรียบ (ไม่ทอด) ธัญพืชชนิดบด ผง พริกป่น
2. ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ได้แก่ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รังนกแห้ง ไข่เค็มดิบ กะปิ ปลาร้าผง/ดิบ ปลาส้ม น้ำบูดู น้ำผึ้ง (ที่ผลิตจากสถานที่ผลิตไม่เป็นโรงงาน)
อ้างอิง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เว็บไซต์ : https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/qs-FoodDug